Yengo

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559

ร่างสุดท้าย รธน.279มาตรา "วรชัย"เข้าค่าย ปรับทัศนคติอีก

กรธ.เคาะรธน.ร่างสุดท้าย 16 หมวด 279 มาตรา ส่งมอบให้ครม.ตามกำหนด 29 มี.ค.นี้เตรียมสรุปเล่มเล็กแจก เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ "มีชัย"พอใจแต่ไม่เต็มร้อย เพื่อไทยชี้รับไม่ได้ยิ่งกว่าร่างแรก เล็งออกแถลงการณ์ท่าทีพรรค นักวิชาการห่วงพ.ร.บ.ประชามติ ต้องตีความกันวุ่นวาย "พงศ์เทพ"ดักคออย่าชี้นำ "องอาจ"จี้คสช.ผ่อนคลายข้อห้ามพรรคการเมือง ทหารบุกเชิญตัว"วรชัย"ถึงบ้านปากน้ำ นำตัวไปปรับทัศนคติที่ มทบ.11 เผย"จ่าประสิทธิ์"ได้รับพระราชทานอภัยโทษ หลังติดคุกนาน 1 ปี 10 เดือน 1 วัน



กรธ.เคาะรธน.279 มาตรา 16 หมวด

เวลา 09.00 น. วันที่ 26 มี.ค. ที่โรงแรม ดิ อิมพีเรียล บีช หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เป็นวันที่ 4 เพื่อปรับแก้และทบทวนร่างรัฐธรรมนูญ เป็นวันสุดท้าย จากนั้นเวลา 13.00 น. นายนรชิต สิงหเสนี โฆษกกรธ. แถลงผลประชุมว่า กรธ.ได้ข้อสรุปแล้วว่าร่างรัฐธรรมนูญมีทั้งหมด 16 หมวด 279 มาตรา รวมบทเฉพาะกาล โดยหมวดที่ 16 ที่กรธ.เพิ่มขึ้นเป็นเรื่องการปฏิรูปประเทศ ทั้งนี้ ในบท เฉพาะกาลมีการเขียนไว้ชัดเจนในรายละเอียดเกี่ยวกับการคงหน้าที่ขององค์กรต่างๆ ทั้งองคมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คณะรัฐมนตรี(ครม.) และ.กรธ. ซึ่งหลักการยังคงเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในร่างเบื้องต้น ฉบับรับฟังความคิดเห็น

นายนรชิตกล่าวว่า ขณะที่การเลือกตั้งส.ส.ทั่วไปครั้งแรก จะต้องมีขึ้นภายใน 150 วัน หลังจากพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญจำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วย 1.พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร 2.พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา 3.พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง และ 4. พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรม นูญว่าด้วยพรรคการเมือง มีผลใช้บังคับ



เลือกตั้งตามโรดแม็ป 6-4-6-4

นายนรชิตกล่าวว่า ยืนยันการเลือกตั้ง จะเป็นไปตามโรดแม็ปของคสช. คือ 6-4-6-4 และหากสนช. สปท. ครม.และคสช.จะลงสมัครรับเลือกตั้งส.ส.ต้องลาออกจากตำแหน่งภายหลังรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ภายใน 90 วัน ส่วนพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ อีก 7 ฉบับ จะต้องทำให้เสร็จภายใน 8 เดือน นับแต่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ ส่วนกระบวน การได้มาซึ่งส.ว.ทางอ้อมจำนวน 200 คน ก่อนให้คสช.เลือกเหลือ 50 คน กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ดำเนินการตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งส.ส. 15 วัน โดยต้องมีกระบวนการเลือก ตั้งแต่ระดับอำเภอ จังหวัด และระดับประเทศ ส่วนการสรรหาส.ว. อีก 200 คนก็เป็นหน้าที่ของคสช.ดำเนินการ ต่อไป

นายนรชิตกล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ตอบโจทย์ที่เราได้รับมอบหมายมา เพื่อให้ประเทศกลับไปสู่การปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญช่วงเปลี่ยนผ่าน ที่สำคัญคือการป้องกันผู้ทุจริต หรือถูกคำสั่งศาล ประพฤติทุจริต ไม่ให้กลับไปสู่วงการเมือง และการที่กรธ.ระบุเรื่องการปฏิรูปประเทศเพราะเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะสร้างอนาคตที่สำคัญของ ประเทศไทย



29 มี.ค.ส่งมอบร่างสุดท้ายให้ครม.

โฆษกกรธ. กล่าวว่า ในส่วนของบทเฉพาะ กาลโดยเฉพาะการคงไว้ซึ่งองค์กรต่างๆ จะมี หน้าที่อะไร พ้นไปเมื่อไรนั้นยังไม่มีการเปลี่ยน แปลงมาก เริ่มตั้งแต่ สนช.สิ้นสุดการทำหน้าที่ในวันเรียกประชุมสภานัดแรก ส่วนครม. บริหารราชการไปจนกว่าครม.ชุดใหม่มาทำหน้าที่ ส่วนสปท. ระบุให้อยู่ต่อไปอีก 1 ปี เว้นแต่มีการกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมไว้ในกฎหมายปฏิรูป ขณะที่กรธ. จะทำหน้าที่ต่อไป จนกระทั่งสามารถยกร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่จำเป็นจำนวน 11 ฉบับ

นายนรชิตกล่าวว่า วันที่ 28 มี.ค. กรธ.จะมี การประชุมในเวลา 09.00 น. เพื่อตรวจทานความถูกต้องของถ้อยคำและเรียบเรียงเลขรายมาตรา และให้กรธ.กลับไปตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง ก่อนส่งมอบให้ครม.ในวันที่ 29 มี.ค. โดยจะมีการแถลงในเวลา 13.39 น. ที่รัฐสภา และในวันที่ 30 มี.ค. กรธ.จะอธิบายและชี้แจงร่างรัฐธรรมนูญต่อ สนช.และสปท.และหัวหน้าส่วนราชการทุกหน่วยงาน ที่รัฐสภา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางกรธ.ได้แจกเอกสาร บทบัญญัติร่างรัฐธรรมนูญในบางส่วนที่ได้ตรวจสอบเสร็จแล้ว คือ ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย หมวด 4 หน้าที่ของปวงชนชาวไทย หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ และหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ



สรุปเป็นเล่มเล็กแจกประชาชน

นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ.ให้สัมภาษณ์ หลังประชุมกรธ.เสร็จสิ้นว่า ร่างรัฐธรรมนูญร่างเสร็จแล้ว 99 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือ จะนำไปทบทวนอีกครั้งในการประชุมกรธ. วันที่ 28 มี.ค. เพื่อส่งร่างฉบับสมบูรณ์ให้ครม.ในวันที่ 29 มี.ค. จากนั้นจะเผยแพร่ให้ประชาชน ได้รับทราบผ่านเว็บไซต์ของกรธ. และให้สื่อมวลชนช่วยเผยแพร่เพื่อให้ประชาชน ได้เข้าใจ คิดว่าประชาชนน่าจะเข้าใจดีว่ารัฐธรรมนูญอ่านไม่ได้ง่าย

นายมีชัยกล่าวว่า หลังวันที่ 29 มี.ค. กรธ.จะต้องทำสรุปสาระของร่างรัฐธรรมนูญเพื่อบอกถึงจุดดีจุดเด่น โดยจะสรุปออกมาเป็นเล่มเล็กๆ มีภาพประกอบ เพื่อให้ประชาชนอ่านได้สะดวกขึ้น อยากให้ประชาชนเข้าใจว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ที่จะใช้กับคนทุกคน และมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์ระยะยาวกับประเทศ ดังนั้น ขอความกรุณาทำความเข้าใจว่าบ้านเมืองต้องมีขื่อมีแป เป็นไปโดยยุติธรรม มุ่งหวังผลทำให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข ได้รับความเที่ยงธรรม เป้าหมายสำคัญของรัฐธรรมนูญคือพยายามขจัดความเหลื่อมล้ำ และหวังว่าปัญหาของประเทศที่หมักหมมมาเป็นเวลานานจะสามารถ แก้ไขได้โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้



ยาแรงทั้งกับคนโกงและขรก.

นายมีชัยกล่าวว่า หวังว่าเมื่อประชาชนได้เห็นร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับและไตร่ตรองวิเคราะห์แล้วจะเข้าใจว่ารัฐธรรมนูญนี้มุ่งหวังที่จะเกิดประโยชน์กับประชาชนและส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิเสรีภาพที่มีคนออกมาท้วงติงว่าขาดหายไปก็กรุณาช่วยอ่านให้ทั่ว เพราะนอกจากกรธ.บัญญัติในหมวดหน้าที่ของรัฐแล้ว เรายังเพิ่มไว้ในหมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยอีกเป็นจำนวนมาก

นายมีชัยกล่าวว่า ส่วนบทเฉพาะกาล กรธ.เขียนไว้ถึงขนาดที่ว่า สิ่งที่คนห่วงใยเรื่องการศึกษา ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เราเขียนให้ทำกฎหมายเรื่องนี้ให้เสร็จใน 1 ปี และให้ครม.กำหนดว่าการทำกฎหมายนี้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานใดที่จะต้องทำให้เสร็จในระยะเวลาใด รวมไม่เกิน 1 ปี หากทำไม่เสร็จ ให้ครม.ย้ายหัวหน้าหน่วยนั้นไปทันที ตรงนี้เป็นครั้งแรกที่เขียนในรัฐธรรมนูญ โดยมีบท บัญญัติที่ค่อนข้างรุนแรง เพราะรัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้ไม่มีบทลงโทษทำให้ข้าราชการ ก็เพิกเฉย กรธ.จึงต้องเขียนให้แรง และรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้แรงเฉพาะเรื่องปราบโกง แต่แรงในการทำหน้าที่ของข้าราชการ เพราะหวังว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในวันข้างหน้า ตรงนี้จะสามารถช่วยแก้ปัญหาการบริหารราชการแผ่นดินได้เพราะรัฐธรรมนูญบังคับไว้



ปชช.จะชอบถ้าไม่มีการบิดเบือน

เมื่อถามว่า หวังแค่ไหนว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะได้รับการตอบรับจากประชาชน นายมีชัยกล่าวว่า หากประชาชนได้อ่านและเข้าใจอย่างถูกต้อง ไม่ถูกใครบิดเบือน เชื่อว่าประชาชนจะชอบ รับได้และมีความสุข อย่างไรก็ตามตนห่วงเรื่องการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ร่างรัฐธรรมนูญเพราะด้วยกำลังของกรธ.เพียง 21 คน คงยากที่จะทำได้ทั่วถึง จึงหวังให้หน่วยราชการ รัฐบาลและคสช.มาช่วยเหลือ

เมื่อถามว่ามั่นใจแค่ไหนว่าร่างรัฐธรรมนูญจะไม่นำไปสู่การรัฐประหารอีก นายมีชัย กล่าวว่า ถ้าทุกคนปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญการปฏิวัติก็จะไม่เกิดขึ้น ส่วนข้อกังวลของนักวิชาการที่ห่วงว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะไม่เป็นประชาธิปไตย ตนคงไม่สามารถอธิบายได้เพราะคนพูดก็คงไม่รู้ว่าประชาธิปไตยคืออะไร ถ้าตรงไหนที่เขาบอกว่าไม่เป็นประชา ธิปไตยเราก็จะสามารถอธิบายได้ ถ้าอยู่ๆ เขาบอกว่าคุณไม่ดีเลยแต่ไม่บอกว่าไม่ดีอย่างไร คนที่ถูกบอกว่าไม่ดีก็ไม่รู้ว่าจะปรับตัวอย่างไร มันไม่ดีเพราะมันเตี้ยหรือสูงไป หรือมีกิริยามารยาทไม่ดี หรือเป็นเพราะว่าคดโกง จึงแก้ไม่ได้ รู้แต่ว่าเขาบอกว่าไม่ชอบก็เลยไม่ดี หากถามกลับว่าไม่ดีอย่างไรเขาก็ตอบไม่ได้ ตอบได้แค่ว่าผมไม่ชอบ

เมื่อถามว่าสามารถสรุปได้หรือไม่ว่าร่างนี้มีความเป็นประชาธิปไตยในแบบหนึ่งของนายมีชัย นายมีชัยกล่าวว่า ไม่ใช่ เพราะร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ใช่ของตน คนที่จะพูดว่าไม่เป็นประชาธิปไตยต้องมาอ่าน และมาถามเฉยๆ แบบนี้ไม่ได้



พอใจแต่ไม่ทั้ง 100%

ส่วนว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ตอบโจทย์คสช.หรือไม่นั้น นายมีชัยกล่าวว่า ตอบโจทย์หมดทุกคน ได้บ้าง ไม่ได้บ้างเท่าที่ทำได้ ซึ่งทั้งหมดขึ้นอยู่กับคำขอ หากขอมาเราทำได้ก็ได้ ไม่ได้ก็คือไม่ได้ ที่ผ่านมาไม่ได้ดูว่าคำขอเป็นของใคร หากมีเหตุผลก็ทำให้หมด เพราะฉะนั้นที่แก้ไป 80 เปอร์เซ็นต์แก้ตามประชาชนขอมา อย่างไรก็ตามจำนวน 279 มาตรา ถือว่าอยู่ในเป้าหมายของกรธ.ที่พยายามจะช่วยแก้ปัญหาการทุจริต การไม่มีวินัยและการศึกษา คงต้องบอกว่าพอใจเพราะเราเป็นผู้ทำเอง แต่ถ้าถามว่าได้ตามที่อยากทำ 100 เปอร์เซ็นต์หรือไม่ เราไม่ได้เขียนเพื่อใช้ในบ้านคนเดียว หากใช้คนเดียวก็อาจเขียนอีกแบบหนึ่ง เราจึงต้องคำนึงถึงคนอื่นด้วย บางเรื่องอาจใช้ได้กับเราได้แต่บางเรื่องใช้ไม่ได้

เมื่อถามว่ามีเหตุผลใดที่กำหนดเวลาแถลงข่าวส่งมอบร่างรัฐธรรมนูญ เวลา 13.39 น. ตัวเลข 9 ถือฤกษ์อะไรหรือไม่ นายมีชัยกล่าวว่า ไม่ถือฤกษ์ และไม่เคยบอก สมาชิกกรธ.คงแค่พูดเล่นกัน แต่ลงล็อกพอดีเป็นการบังเอิญมากกว่า เมื่อถามว่าก่อนส่งร่างจะต้องไปขอพรที่ใดเป็นพิเศษหรือไม่ นายมีชัยกล่าวว่า "ผมไหว้พระทุกคืนอยู่แล้ว คงไม่ต้องไปไหว้ที่ไหน เอาแล้วแต่สะดวกพร้อมเมื่อใด ก็แถลงข่าวเมื่อนั้น และในวันที่ 29 มี.ค. ทางเจ้าหน้าที่จัดส่งร่างรัฐธรรมนูญให้ครม.ไปตามขั้นตอนของราชการตามปกติ



เพื่อไทยจ่อออกแถลงการณ์

นายสามารถ แก้วมีชัย อดีตส.ส.เชียงราย คณะทำงานติดตามการร่างรัฐธรรมนูญ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับกรธ. ที่มี 279 มาตรา 16 หมวด ว่า ได้เห็นเนื้อหาร่างแรกก็ว่ายอมรับได้ลำบากแล้ว แต่ในร่างสุดท้ายที่มีการเขียนบทเฉพาะกาลใส่เนื้อหาตามที่ผู้มีอำนาจร้องขอ ยิ่งรับไม่ได้ แม้จะมีการสะท้อนความเห็นหรือเสียงคัดค้านแต่ก็ยังมีการเขียนในประเด็นเหล่านั้นเอาไว้ในร่างฉบับนี้ สำหรับพรรคเพื่อไทยจะรอดูร่างใน วันที่ 29 นี้ และจะมีท่าทีเพื่อย้ำจุดยืนเช่นการออกแถลงการณ์ของพรรคต่อร่างรัฐธรรมนูญ

นายสามารถกล่าวว่า สิ่งที่เป็นห่วงจากนี้คือการทำประชามติจะผ่านหรือไม่ ถ้าผ่านแล้วนำร่างที่มีเนื้อหาเป็นปัญหานำมาใช้จะทำ ให้การบริหารงานยากลำบากขึ้นไปอีก โดยเฉพาะการ มีส.ว.สรรหา เข้ามาติดตามการทำงานของรัฐบาล ขณะที่เนื้อหาบางประเด็นที่ระบุให้มีคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาหากเกิดวิกฤตทางการเมืองขึ้นนั้น แนวทางที่ดีที่สุดคือการยุบสภาแล้วคืนอำนาจให้ประชาชน ไม่ใช่ให้มีกรรมการไม่กี่คนมาตัดสินใจแทนประชาชน ซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้ดูแล้วจะหนักขึ้นกว่าในร่างแรกด้วยซ้ำ

นายสามารถกล่าวว่า ส่วนกรณีนายกฯออกมาเตือนผู้ที่วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญให้ระวังตัวว่าจะถูกดำเนินการทางกฎหมายนั้น เห็นว่าเป็นการวิจารณ์เป็นไปในแง่ของหลักการเพื่อเตือนก่อนล่วงหน้า ไม่ใช่การไปยุยงปลุกปั่นแต่อย่างใด แต่เมื่อความคิดเห็นไม่เหมือนกันก็ถือเป็นการมองที่ต่างมุม สำหรับกรณีนาย มีชัย ฤชุพันธุ์ ระบุว่าการออกไปชี้แจง เนื้อหาของร่างฯต่อประชาชนเป็นเรื่องที่หนักใจเพราะไม่แน่ใจว่าจะต้านทานวิชามารของบางฝ่าย หรือจะเกิดวิชามารบิดเบือนเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ คิดว่าคงไม่มีใครไปทำอะไรเขาได้นอกจากพวกเขากันเอง เราได้แต่มองและไปตัดสินใจกันในการทำประชามติ พรรคเพื่อไทยมีแต่จะรณรงค์ให้สมาชิกออกไปใช้สิทธิของตัวเองให้มากที่สุด ส่วนจะรับหรือไม่รับนั้นเป็นดุลพินิจของแต่ละบุคคลไปบังคับไม่ได้



จตุพรชี้"มีชัย"ปอกทุเรียนเสิร์ฟ

นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวในรายการมองไกลนปช. ทางพีซ ทีวี ว่า ที่นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ระบุเป็นเรื่องลำบากที่ กรธ.จะชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจร่างรัฐธรรมนูญได้ทั้งหมด เพราะไม่รู้ว่าจะสู้กับการบิดเบือนและวิชามารของคนบางกลุ่มได้หรือไม่นั้น การเขียนร่างรัฐธรรมนูญของนายมีชัย โดยเฉพาะข้อเสนอ 3 ข้อของคสช. คล้ายกับเสนอให้กินทุเรียนทั้งเปลือก แต่นายมีชัย พยายามบอกให้ใจเย็นแล้วปอกเปลือกทุเรียนใส่จานให้คสช.กินแบบอร่อยกว่า แสดงให้เห็นว่า นายมีชัย ทำให้คสช. มากกว่าที่ขอ เพราะนายมีชัย เป็นคนวางแผนทั้งหมด ตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 เป็นต้นมา ดังนั้นที่บอกว่านายมีชัย ไม่ทำตามข้อเสนอ คสช.จึงไม่ใช่เรื่องจริง และวิชามารด้านร่างรัฐธรรมนูญไม่มีใครสู้นายมีชัย ได้



เรียกร้องเปิดกว้างรณรงค์

นายจตุพรกล่าวว่า บรรยากาศการลงประชามติควรเปิดพื้นที่ให้แต่ละฝ่ายสามารถรณรงค์รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญได้ เพราะ ขณะนี้รัฐบาลมีทั้งนักศึกษาวิชาทหาร หรือ รด. และเหล่าทัพ ที่ออกมารณรงค์ร่างรัฐธรรมนูญได้ โดยฝ่ายที่ต้องการลงมติไม่รับร่างไม่มีทางสู้ได้เพราะไม่สามารถรณรงค์ได้ ต่างจากยุคคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ที่เปิดโอกาสให้รณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญได้ แต่ครั้งนี้ไม่อนุญาตคล้ายกับปิดประตูตีแมว ซึ่งไม่เป็นผลดี เพราะที่ผ่านมาหากใครใช้อำนาจรัฐบาลมักจะแพ้การเลือกตั้ง เพราะคนไทยไม่ชอบการบังคับ

นายจตุพรกล่าวว่า ขณะที่ความเคลื่อนไหวของนานาชาติทั้งสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัย สหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) ออกแถลง การณ์เรียกร้องให้ กรธ. และ คสช. เปิดกว้างให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพแสดงออกทาง การเมืองนั้น สะท้อนให้เห็นว่านานาชาติติดตามข้อมูลสถานการณ์ทางเมืองไทยอย่างใกล้ชิดโดยที่ไม่มีใครสามารถปิดหูปิดตาชาวโลกได้



ปมราชภักดิ์ไม่จบง่ายๆ

นายจตุพรกล่าวกล่าวกรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ต้องการข้อมูลการตรวจสอบโครง การอุทยานราชภักดิ์กับตนเอง ว่า ยังมีหลายเรื่องที่ยังค้างคาใจประชาชนอยู่ นอกจากความสัมพันธ์ระหว่างนายทหารคนสนิทของ พล.อ. อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม และอดีตผบ.ทบ. เคยพบเจอกับนายวัชรพงศ์ ระดมสิทธิพัฒน์ หรือ เซียนอุ๊ หรือไม่ และส่วนที่มีแอบอ้างรับค่าหัวคิว แล้วสุดท้ายมาบอกว่าเป็นเงินในนามของค่าที่ปรึกษานั้นอยากถามว่าค่าปรึกษาอะไร หลังจากนี้ป.ป.ช.จะ นำข้อมูลเรื่องดังกล่าวไปตรวจสอบต่อประมาณ 6 เดือน เชื่อว่าเรื่องนี้จะไม่จบง่ายๆ



ชี้"วรชัย"พูดไม่มีปัญหา

นายจตุพรกล่าวกรณีหัวหน้าคสช.กล่าวเตือนคนที่พูดถึงร่างรัฐธรรมนูญให้ระวังตัวจะถูกกฎหมายเล่นงาน หลังนายวรชัย เหมะ อดีต ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ระบุหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ พล.อ. ประยุทธ์ต้องรับผิดชอบด้วยลาออกจากตำแหน่ง ว่า มุมมองของแต่ละคนมีจุดยืนแตกต่างกัน มองเรื่องเดียวกันไม่เหมือนกัน แต่บางคนทำตัวเหมือนน้ำเต็มแก้ว คำพูดของนายวรชัย ไม่เห็นจะมีปัญหา ไม่มีความรุนแรง และไม่มีเนื้อหาไปดูถูกเหยียดหยามอะไรแต่พูดผิดจังหวะและผิดเวลาเท่านั้น หากพูดในขณะที่ผู้นำอารมณ์ดีคงจะไม่เกิดปัญหา เรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสะท้อนถึงชะตากรรมของคนที่เดินในทางประชาธิปไตย พล.อ.ประยุทธ์ มองตนเองเป็นรัฏฐาธิปัตย์ เป็นหัวหน้าคสช. แต่กลับพูดตัดพ้อว่าต้องการเป็นมนุษย์ธรรมดา เพราะเครียดเรื่องรัฐธรรมนูญ เรื่องการปฏิรูป และเรื่องการเลือกตั้ง ทั้งที่ไม่มีใครบังคับพล.อ. ประยุทธ์ เลือกที่จะเป็นมนุษย์ธรรมดาที่กลับไปใช้ชีวิตกับครอบครัวตามปกติได้ เหมือนในอดีตมีนายทหารรุ่นพี่ของพล.อ.ประยุทธ์ หลายคนเมื่อตอนเข้ามาเป็นอัศวินม้าขาว แต่ตอนไปเสื้อผ้ายังเก็บแทบไม่ทัน



นั่งกินกาแฟ"จ่าประสิทธิ์"

นายจตุพรกล่าวด้วยว่า ขณะนี้ จ.ส.ต. ประสิทธิ์ ไชยศีรษะ อดีตส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ได้รับการปล่อยตัวหลังถูกควบคุมตัวในช่วงที่คสช.เข้ายึดอำนาจ ผู้ที่รักในประชา ธิปไตยต่างเคยถูกคุมขังเช่นเดียวกับจ่าประสิทธิ์ ย่อมเข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากลำบากในห้องคุมขัง เมื่อได้รับการปล่อยตัวมีเสรีภาพอิสรภาพแล้ว อ้อมกอดประชาชนที่รักในประชาธิปไตย และ นปช.ก็ต้อนรับเสมอ เพราะเราคือพี่เป็นน้อง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันเดียวกันนี้ ที่อิมพีเรียล ลาดพร้าว กลุ่ม นปช.มีการระดมทุนกันเป็นปกติ โดย จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ได้มานั่งกินกาแฟ กับนายจตุพร พูดคุยถามไถ่กันทั่วไป



เผยได้รับพระราชทานอภัยโทษ

นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวมีการเผยแพร่ข่าว จ.ส.ต. ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ อดีตส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย แกนนำ นปช. ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำ เมื่อวันที่ 25 มี.ค.ว่า ได้รับรายงานจากนายอายุตม์ สินธพพันธุ์ ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ช่วงค่ำของวันที่ 25 มี.ค. ที่ผ่านมา ทางเรือนจำได้ปล่อยตัว จ.ส.ต. ประสิทธิ์ ซึ่งเป็นผู้ต้องขังในคดีอาญามาตรา 112 ตามคำพิพากษาศาลอาญาให้จำคุก 2 ปี 6 เดือน โดยถูกคุมขังเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2557 และเมื่อปี 2558 ได้รับพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2558 จึงเหลือโทษจำคุก 2 ปี 1 เดือน 22 วัน และจะพ้นโทษ 20 ก.ค.นี้ และเมื่อวันที่ 25 มี.ค.ที่ผ่านมา ได้มีฎีกาพระราชทานอภัยโทษให้ปล่อยตัว จ.ส.ต.ประสิทธิ์ มายังเรือนจำ โดยทางเรือนจำจึงได้ปล่อยพ้นจากเรือนจำเมื่อช่วงคำที่ผ่านมา

นายชาญเชาวน์กล่าวว่า สำหรับการขอพระราชทานอภัยโทษเป็นรายบุคคล ผู้ต้องขังทุกคนสามารถกระทำได้ตาม ป.วิอาญา ที่สามารถยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษได้ รวมแล้วจ.ส.ต.ประสิทธิ์ ถูกคุมขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ 1 ปี 10 เดือน 1 วัน ทั้งนี้ ยังได้รับรายงานด้วยว่าระหว่างที่จ.ส.ต. ประสิทธิ์ถูกคุมขังในเรือนจำนั้น ได้ปฏิบัติตามระเบียบเรือนจำอย่างเคร่งครัด



นักวิชาการห่วงประชามติ

เวลา 13.00 น. ที่ห้องประชุมชั้น 4 สถาบัน วิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ศึกษา สันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาฯ ร่วมกับสถาบันมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันสร้างอนาคตไทย และเว็บไซต์ประชามติ จัดเวทีสาธารณะ "ถกแถลงปัญหาประชามติ"

นายเอกพันธุ์ ปิณฑวนิช รักษาการผู้อำนวยการสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล กล่าวว่า การทำประชามติควรเป็นการกระทำที่อยู่ภายใต้พื้นฐานที่ประชาชน มีเสรีภาพในการตัดสินใจ และมีความรู้ความเข้าใจก่อนไปทำประชามติอย่างจริงจัง เหมือนก่อนการทำประชามติรัฐธรรมนูญ 2550 ที่รัฐดำเนินการให้มีกระบวนการสร้างความเข้ารู้ ความเข้าใจ ต่อตัวร่างรัฐธรรมนูญ

นายโคทม อารียา ที่ปรึกษาสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล กล่าวว่า คณะทำงานห่วงใยการบังคับใช้ พ.ร.บ.ประชา มติ ที่หลายมาตรายังมีข้อสังสัย อาทิ มาตรา 10 ที่ให้กกต.จัดให้มีการแสดงความคิดเห็นโดยอิสระและเท่าเทียม ให้สถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานีโทรทัศน์ของรัฐ จัดสรรเวลาออกอากาศตามที่กกต.กำหนด แต่ไม่ได้จำกัดสิทธิผู้อื่นในการจัดให้มีการแสดงความเห็นใช่หรือไม่ รวมถึงมาตรา 62 ที่บัญญัติการกระทำที่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย เพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายกว้างขวางอันตราย จึงควรกำหนดให้ชัดเจนว่าการกระทำลักษณะใดบ้างเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย ส่วนประเด็นการตั้งคำถามของสนช.ที่เกี่ยวกับบุคคล หรือขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญชั่วคราว เห็นว่าสนช.ไม่ควรกระทำ เพราะหลักการทั่วไปของการทำประชามติไม่ควรตั้งคำถามลักษณะดังกล่าว ที่สำคัญต้องมีความชัดเจนว่าถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติจะมีกระบวนการอย่างไรต่อไป



จี้คสช.ผ่อนคลายกฎ

นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรค ประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ในพ.ร.บ.ประชามติ มีประเด็นสุ่มเสี่ยงจะเกิดปัญหาทำให้คนไม่กล้าจัดเวทีแสดงความเห็นหรือรณรงค์ให้ความรู้ในร่างรัฐธรรมนูญ จึงต้องเขียนให้ชัดว่าใครบ้างที่ดำเนินการได้ และประกาศให้ชัดเจนว่าหากทำแล้วจะไม่ขัดคำสั่ง คสช. โดยคสช.ควรทบทวนประกาศเรื่องการห้ามจัดกิจกรรมทางการเมือง เพราะการออกเสียงประชามติปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเรื่องทางการเมือง ถ้ายังมีประกาศห้ามไม่ว่าใครจัดให้มีการแสดง ความเห็นหรือให้ความรู้เรื่องรัฐธรรมนูญจะสุ่มเสี่ยงต่อการกระทำผิดตามประกาศคสช.หรือไม่ และในกฎหมายประชามติส่วนใดที่คลุมเครือไม่ชัดเจน อยากเรียกร้องให้ สนช. หรือแม้แต่กฤษฎีกา บอกให้ชัดเจนว่าข้อความที่คลุมเครือมีเจตนาอย่างไรจึงได้บัญญัติไว้ และอยากให้คสช.ระบุให้ชัดเจนว่าหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน จะมีกระบวนการอย่างไรให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับที่ใหม่

นายองอาจกล่าวว่า การออกเสียงอยู่ในบรรยากาศที่มีคสช.กุมอำนาจรัฐอยู่ คสช.ต้องแสดงความชัดเจนว่าจะไม่ใช้กลไกอำนาจรัฐไปดำเนินการใดๆ ก็ตาม โดยเฉพาะกลไก ที่เกี่ยวกับคนในเครื่องแบบเข้าไปดำเนินการให้รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เพราะจะก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการยอมรับในรัฐธรรมนูญมากขึ้น จะทำให้กระบวนการเดินหน้าประเทศ สู่สภาวะปกติยากลำบาก ทุกอย่างเริ่มต้นที่การทำประชามติ จึงควรเริ่มผ่อนคลายกฎเกณฑ์ต่างๆ สร้างบรรยากาศความพร้อมสู่การเลือกตั้ง ต่อไป



ให้สถาบันการศึกษาเปิดเวที

นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตสมาชิก สปช. กล่าวว่า โดยปกติการลงประชามติเป็นหลักการของระบอบประชาธิปไตยโดยตรง มักเกี่ยวข้องกับประเด็นเดี่ยวๆ ที่ชัดเจน ประชาชนเข้าใจง่ายในการจะเห็นด้วยหรือ ไม่เห็นด้วย และจะได้ผลดีมากในสังคมที่ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจรัฐธรรมนูญมาก จึงควรสร้างบรรยากาศให้มีสิทธิ เสรีภาพ ในการแสดงความเห็นอย่างเปิดกว้าง ถ้ามีข้อจำกัดเยอะประชามติจะเป็นเพียงพิธีกรรมมากกว่าการให้ประชาชนตัดสินใจจริงๆ

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา แกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า สถาบันการศึกษาทั้งหลายต้องทำเหมือนสมัยยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่มีการจัดเวทีแสดงความเห็นกันกว้างขวาง ซึ่งจะทำให้ได้ประชามติที่แท้จริงไม่ใช่พิธี กรรม รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูลร่างรัฐธรรมนูญ ต้องไม่มีลักษณะเป็นการชี้นำว่าผู้มีสิทธิออกเสียงจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ซึ่งร่างที่อยู่ในสนช.ไม่มีประเด็นดังกล่าว อีกทั้งมาตรา 62 ยังเป็นมาตราที่มีปัญหามากจะทำให้ตีความกันวุ่นวาย ดีที่สุดคือการปล่อยให้พูดเต็มที่ ประชาชนจะพิจารณาเองว่าเหตุผลใครดีกว่ากันจึงควรตัดมาตราดังกล่าวออก และควรกำหนดว่าถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านจะใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 40-50 จะเป็นหลักที่ถือว่ายุติธรรมที่สุด ถ้าไม่กำหนดจะทำให้ประชาชนไม่สบายใจว่าถ้าลงประชามติแล้วผลออกมาจะเกิดอะไรขึ้น และถ้าให้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งควรใช้ชั่วคราวเท่านั้น ระหว่างใช้ก็ยกร่างฉบับถาวรโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด เชื่อว่าจะทำให้เกิดทางเลือกที่เป็นธรรมต่อประชาชนและได้รัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชนในอนาคตด้วย



ทำประชามติเนื้อหารธน.

พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ กล่าวว่า ถ้ายังไม่ทำให้ประชาชนเข้าใจเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญจะเข้าสู่วัฏจักรเดิมๆ เป็นไปได้อยากให้ประชาชนเข้าใจแล้วค่อยมาเลือก ฝ่ายการเมืองทุกฝ่ายต้องเข้าใจรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน ไม่เช่นนั้นจะเกิดวิกฤตแตกแยกทางความคิด เพราะคสช.ยัง ไม่ได้ทำให้คนไทยที่แบ่งฝ่ายรวมเป็นฝ่ายเดียวกัน

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ รองประธานมูลนิธิปรีดีพนมยงค์ กล่าวว่า ไม่ควรลงประชามติเฉพาะร่างรัฐธรรมนูญ เพราะประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมมากเท่าที่ควร หลายประเด็นจะนำไปสู่ความขัดแย้ง จึงต้องทำให้ประชามติเป็นกลไกและระบบที่แก้ปัญหาของประเทศ เสนอว่าให้ลงประชามติในเนื้อหารัฐธรรมนูญ ถ้าเนื้อหาไหนมีความความขัดแย้งสูงให้ลงประชามติเป็นเรื่องๆ ไป เช่น ที่มานายกฯ และที่มาส.ว.



ประชามติต้องอิสระ-เป็นธรรม

นายอรรถสิทธิ์ พานแก้ว อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า คงไม่มีใครอ่านรัฐธรรมนูญทั้งหมดแต่ไม่ได้หมาย ความว่าคนจะไม่มีความรู้ในพื้นฐานทางการเมือง แต่เป็นการตัดสินใจทางการเมืองที่มีความเข้าใจในระดับหนึ่งโดยมีอคติอยู่บ้าง ดังนั้น การให้ข้อมูลจะทำให้คนก้าวข้ามอคติได้ ส่วนมาตรา 62 ทำให้เกิดการตีความที่กว้างขวาง สิ่งที่ต้องคิดคือหากต้องการให้แสดงความเห็นอย่างเสรีแต่ไม่เป็นการแสดงความเห็นที่โจมตีกันจะต้องทำแบบไหน

นางนฤมล ทับจุมพล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า การลงประชามติคือการอธิบาย เพราะผู้ร่างไม่ได้มาจากประชาชนแต่เข้ามาโดยพลการ ดังนั้น การปิดกั้นบังคับข่มขู่ จึงไม่ใช่เจตจำนงโดยเสรี จึงต้องระวังว่าการบอกว่าให้ลงประชามติแต่ไม่ได้สนใจเจตจำนง เสรีของประชาชน ไม่อนุญาตให้คนเห็นโต้แย้งได้เห็นเท่ากับไม่มีเสรีภาพ ถ้าไม่มีเสรีภาพประชามติจะไม่มีคุณภาพ ส่วนจะลงมติทั้งฉบับหรือรายประเด็น ทำได้ทั้ง 2 แบบ แต่โดยหลักการแล้วการลงประชามติต้องฟรี และแฟร์ คือต้องมีอิสรเสรี และเป็นธรรม ซึ่งอาจจะมีทางเลือกในการตั้งคำถามสำหรับคนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญบางประเด็น อาจถามไปว่ากำหนดให้แก้รัฐธรรมนูญหลังผ่านภายในกี่ปี ก็จะเป็นทางเลือกหนึ่งให้กับประชาชนได้



"วรชัย"ยันไม่มีเจตนาให้ร้ายบิ๊กตู่

เวลา 09.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานจากหน้าบ้านเลขที่ 555/340 ม.5 ซอย 3 ในหมู่บ้านเลอร์นีโอ 2 ถ.ศรีนครินทร์ ต.บางเมือง อ.เมือง จ.สมุทรปราการ บ้านพักของนายวรชัย เหมะ อดีตส.ส.พรรคเพื่อไทย จ.สมุทรปราการ และแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) โดยให้สัมภาษณ์ว่า จากที่ได้ให้สัมภาษณ์ก่อนหน้านี้เรียกร้อง ให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้าคสช. แสดงความรับผิดชอบลาออกจากตำแหน่งหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ ยืนยันว่าไม่ได้มีเจตนาให้ร้ายกับนายกฯ

นายวรชัยกล่าวว่า ที่ผ่านมาสิ่งที่ตนพูดเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจริงไม่ว่าจะเป็นเรื่องพฤษภาทมิฬ และถ้ามีปัญหาแบบนี้ต่อไปหลังจากเลือกตั้งอีกก็จะมีปัญหาตามมาอีกในเรื่องความขัดแย้ง หรือฝ่ายการเมืองชนะ ก็บริหารประเทศไม่ได้ ที่สำคัญในเมื่อพรรคไหนไม่สามารถถือเสียงข้างมากได้ก็จะไปรวมกับหลายพรรค สิ่งที่ตามมาถ้ามีการเมืองหลายพรรคก็มีโควตา ทุกคนก็ไปเอาส.ส. มาอยู่ในแก๊งตัวเอง ขณะเดียวกันส.ส.ที่อยู่ในแก๊งก็จะขอตำแหน่งและมีการจ่ายเงินกัน เป็นต้น เหตุการณ์คอร์รัปชั่นจึงทำให้ประเทศเดินหน้าไม่ได้



กระจกสะท้อนแทนชาวบ้



ที่มา khaosod.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น